” ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน
นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี 

ประวัติและอาณาเขตจังหวัดสิงห์บุรี

          สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า “…เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้…” ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย

อาณาเขต

          จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสรรพยา (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอตาคลี (จังหวัดนครสวรรค์)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง (จังหวัดลพบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสรรคบุรี (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)

ลักษณะภูมิประเทศ

โดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเป็นอย่างมาก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่น ๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้และไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญ

ลักษณะของภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 34.30-37.34 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,047.27 มิลลิเมตรต่อปี
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 27-18 องศาเซลเซียส

ดาวน์โหลดโมบายแอพ Go! สิงห์บุรี

เพิ่มเพื่อน

แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี

มีสถานที่ในระบบทั้งหมด 65 แห่ง
Filter
Reset
เพิ่มสถานที่ใหม่เข้าไปในระบบ
เพิ่มข้อมูลท่องเที่ยวในระบบภูมิสารสนเทศของจังหวัดสิงห์บุรี
เลือกไฟล์ในเครื่องหรือลากไฟล์มาไว้ที่นี่เพื่ออัพโหลด

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์

เลือกไฟล์ในเครื่องหรือลากไฟล์มาไว้ที่นี่เพื่ออัพโหลด

หมวดหมู่สถานที่น่าสนใจในจังหวัดสิงห์บุรี

School
University
Atm
Bank
Bar
Bus station
Cafe
Car repair
Department store
Doctor
Fire station
Gas station
Hospital
Local government office
Lodging
Museum
Night club
Park
Parking
Pharmacy
Police
Restaurant
Dentist
Shopping mall
Store
Taxi stand
Train station
Travel agency

 

ทริปท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี

โปรแกรมท่องเที่ยวแนะนำ

เที่ยวสิงห์บุรีใน 1 วัน

จังหวัดสิงห์บุรีเป็นเมืองทางผ่านที่บางครั้งเราอาจจะมองข้ามเสน่ห์ของจังหวัดนี้ที่แอบซ่อนอยู่ คู่หูเดินทางฉบับนี้จึงขอชวนคุณผู้อ่านไปหาสุขและสนุกแบบไปเที่ยวม้วนเดียวจบ กับหนึ่งวันดีๆ ที่จังหวัดสิงห์บุรี ที่เราการันตีว่ามีดีกว่าที่คุณคิดแน่นอน

เส้นทางความสุขของเราครั้งนี้ เริ่มต้นที่จากกรุงเทพฯ โดยใช้ถนนสายเอเชีย ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ตรงมาไม่ไกลจะเห็นป้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี ก็เลี้ยวมาตามทางแล้วขับตรงไปเรื่อยๆ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เจอสี่แยกไฟแดงให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 3032 ทางไปอำเภอค่ายบางระจัน ขับตรงมาอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ตรงโค้งถนนพอดีจะเป็นที่ตั้งของจุดแวะแรก คือ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นวัดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และเป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระนอนจักรสีห์” พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ศิลปะสุโขทัย มีความยาว 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว (47.42 เมตร) พระเศียรชี้ไปทางตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดสิงห์บุรีที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง 

ด้านหน้าทางเข้าก่อนจะไปวิหารพระนอนจักรสีห์จะมีรูปจำลองสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี) องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ถัดมาด้านขวามือจะเป็นตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม ให้กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล หลังจากนั้นเดินมาตามทางเรื่อยๆ เพื่อเข้าไปกราบสักการะองค์พระนอนจักรสีห์ในวิหาร องค์พระมีสีทองสวยอร่ามงดงามมาก โดยรอบๆ องค์พระด้านหลังได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์วัดพระนอนจักรสีห์ที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในสมัยอดีตที่หาชมยาก รวมถึงธนบัตรสมัยก่อนที่มีคนบริจาคให้ทางวัดนำมาจัดแสดงให้คนรุ่นหลังได้ชมกันด้วย ที่สำคัญภายในวิหารยังมีพระแก้ว พระกาฬ พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ใช้เป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาด้วย

ใบบริเวณด้านหน้าวิหารจะมีพระนอนจักรสีห์องค์จำลอง สำหรับพุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้ บูชาดอกไม้ ธูป เทียน และปิดทององค์พระ เพราะด้านในวิหารอนุญาตให้เพียงกราบสักการะได้เท่านั้น

ภายในบริเวณวัดร่มรื่นเป็นที่ปฏิบัติธรรมและศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านพุทธศาสนาทั้งพระภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่สนใจ

เมื่อกราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้านขวามือของวัดจะเป็นที่ตั้งของ ตลาดวัดพระนอนจักรสีห์ หรือ ตลลาดต้องชม ซึ่งเปิดมานานกว่าสิบปีแล้ว และได้พัฒนาให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น โดยชาวบ้านและคนในชุมชนจะนำสินค้าที่ผลิตเอง เช่น พืช ผัก ผลไม้ น้ำพริกผลิตภัณฑ์ปลาร้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัด สินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋าถือ และของใช้ต่างๆ ที่นำมาจำหน่ายในราคาไม่แพง ผัก กำละ 5-10 บาท ฝักบัว กำละ 20 บาท ดอกไม้เตยหอม กำละ 20 บาท งานประดิษฐ์ที่สวยและมีคุณค่า ตรงกลางเป็นลูกมะกรูดช่วยดับกลิ่นด้วย เดินเล่นสนุก เพลินๆ ไม่ร้อน แต่หิ้วของเต็มไม้เต็มมือเลย สำหรับใครที่กำลังหิวข้าวเราขอแนะนำร้านป้าสมคิดข้าวแกง อยู่ด้านในท้ายตลาด มีทั้งขนมจีนน้ำยา ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำ ต้มเลือดหมู แกงบอน แกงขี้เหล็ก พะแนงหมู ผัดหน่อไม้ ต้มพะโล้ ผัดเผ็ดปลาดุก มีให้เลือกไม่กี่เมนูแต่รับรองว่าอร่อยเกินคาด รสชาติแบบดั่งเดิม ฝีมือคนโบราณแท้ในราคาย่อมเยา

จากนั้นมุ่งหน้าต่อไปยัง วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง โดยเลี้ยวซ้ายออกจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร แล้วขับมุ่งหน้าตรงไป เจอสามแยกให้เบี่ยงไปทางซ้ายเข้าถนนสาย 3008 แล้วขับต่อไปอีกประมาณ 8 กิโลฯ จะพบวัดพิกุลทอง พระอารามหลวง ถนนสี่เลนเห็นองค์พระใหญ่สวยเด่นมาแต่ไกล

วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง หรือที่ชาวบ้านรียกกันว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี เป็นวัดที่ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธามาก เพราะหลวงพ่อแพ อดีตเจ้าอาวาส เป็นพระที่ชาวบ้านเคารพรัก ท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่พุทธศาสนาไว้มากมาย และมีส่วนช่วยให้วัดพิกุลทองมีลักษณะสวยงามโดดเด่นดังเช่นปัจจุบัน ภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอีกด้านหนึ่งของวัดจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยสุโขทัย ตั้งตระหง่านสวยงาม โดยได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ว่า พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือ หลวงพ่อใหญ่ องค์สีทองเหลืองอร่าม ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค จากประเทศอิตาลี รอบๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคตซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่างๆ ทางด้านทิศเหนือของพระใหญ่ประทานพร จะเป็นที่ตั้ง วิหารรูปเหมือนหลวงพ่อแพ องค์ใหญ่ หน้าตักกว้าง 6 เมตร สามารถเข้าไปสักการะ จุดธูปเทียนปิดทองบูชาด้านในได้ นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น พระสีวลี (พระฉิม) ประดิษฐานอยู่กลางสระน้ำ ด้านหน้าองค์พระใหญ่ พระสังกัจจายนะ ประทานพรให้โชคลาภ อยู่ในสวนพุทธอุทยาน รูปหล่อองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดเท่าของจริง ถอดแบบมาจากวัดระฆังโฆษิตาราม และพระพิฆเณศวร เทพพระเจ้าแห่งความสำเร็จ เป็นต้น

กราบสักการะหลวงพ่อเป็นที่เรียบร้อยก็ออกมุ่งหน้าต่อมาที่ถนนเส้นเดิม สาย 3032 ขับต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลฯ ทางด้านซ้ายจะเป็นที่ตั้งของ วัดโพธิ์เก้าต้น หรือวัดไม้แดง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 8 ตำบลบางระจัน ตรงข้ามอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี  จุดเด่นวัดโพธิ์เก้าต้น คือ สัญลักษณ์กำแพงวัด ที่สร้างจำลองกำแพงค่าย เพราะวัดนี้เดิมเป็นฐานที่มั่น ของชาวบ้านบางระจัน ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านพม่าที่ยกกองทัพมาตี กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2308 มี วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติรังสี ประดิษฐานรูปเหมือนท่านอยู่ ซึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นที่เคารพสักการะของชาวสิงห์บุรีมาช้านานแล้ว เนื่องจากท่านเป็นมิ่งขวัญและพลังใจแก่เหล่าวีระชนชาวบ้านบางระจัน ทำให้วีระชนเข้าต่อสู้ป้องกันข้าศึกและได้รับชัยชนะ บริเวณกุฏิพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นสถานที่ที่ประชาชนเข้ามากราบไหว้บูชา ขอพรบนบานศาลกล่าว เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มักได้สมหวัง โดยมี สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งผู้คนที่เดินทางมาขอพรหรือบนขอสิ่งที่ต้องการ เมื่อได้ตามที่ขอพรไว้ ก็จะมาแก้บนด้วยการหาบน้ำตามจำนวนหาบที่บนไว้

พระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระที่มีอาคมชั้นเลิศ และชำนาญเรื่องเกี่ยวกับยาสมุนไพร เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจของเหล่านักรบแห่งค่ายบางระจัน เดิมทีท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมบางนางบวช เมืองสุพรรณบุรี พอเกิดสงคราม ชาวบ้านศรีบัวทอง โดยมีนายเมืองเป็นผู้ไปนิมนต์ท่านมาอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้นแห่งนี้ ในสมัยที่พม่ายกทัพเข้ามา ประชาชนต่างหนีเอาตัวรอดและเข้ามาอยู่รวมกันที่วัดโพธิ์เก้าต้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมาก ความต้องการยาสมุนไพรและน้ำมนต์ของพระอาจารย์ธรรมโชติก็มีมากขึ้นด้วย พระอาจารย์ท่านจึงได้ทำน้ำมนต์ใส่สระขนาดใหญ่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชาวบ้าน และนักรบ น้ำในสระจึงมีความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน สุดท้ายไม่มีใครทราบว่าท่านมรณภาพในวัดโพธิ์เก้าต้น หรือว่าหลบหนีไปได้ แต่ด้วยแรงศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผู้คนยังคงแวะเวียนไปกราบสักการะขอพรพระอาจารย์ธรรมโชติรังสีอยู่เสมอ จวบจนปัจจุบัน

โดยทางวัดได้แบ่งพื้นที่ด้านซ้ายเปิดเป็นตลาดย้อนยุคสมัยบางระจัน ชื่อ ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เซ็ตอัพทุกอย่างให้เหมือนตลาดสมัยโบราณ โดยใช้ไม้ไผ่สานทำเป็นแคร่วางขายของ หลังคามุงด้วยใบจาก ชอบมุมไหนก็แวะถ่ายรูปได้เลย โดยมีจุดเด่นไฮไลท์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวแต่งกายแบบชุดไทยโบราณในคอนเซ็ป “นุ่งโจมห่มสไบกินสำรับไทยที่บ้านระจัน” สามารถแต่งชุดไทยเดินชมตลาดได้แบบไม่ขัดเขิน เพราะเหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทุกร้านก็ร่วมใจกันแต่งชุดไทยเหมือนกัน ค่าเช่าชุดอยู่ที่ ผู้ใหญ่ 100 บาท/วัน เด็ก 40 บาท/วัน นอกจากจะมีอาหารให้เลือกกินกันแบบจุใจแล้ว เรายังแอบชมพ่อแม่ที่พาบุตรหลานมาเที่ยวยังตลาดแห่งนี้ เพราะเด็กๆ จะได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบท้องถิ่น รู้จักรสชาติหน้าตาอาหารแบบโบราณ ทั้งขนมถ้วย ขนมกล้วย ขนมไข่ปลา ข้าวแช่ หรือแม้แต่เมี่ยงคำกลีบดอกบัวที่หาทานยากก็มี แต่อาหารที่ได้รับความนิยมมากน่าจะเป็นผัดไท เพราะมีถึง 3 ร้าน ลูกค้าต่อคิวแถวยาว ผัดในกระทะใบใหญ่ โชว์กล้ามแบบทหารกล้า เสน่ห์ของที่นี่อีกอย่างคือพ่อค้าแม่ค้าน่ารักทุกคน ยิ้มแย้มแจ่มใสให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี โดยมีทั้ง ผัก ผลไม้ ขนม เครื่องดื่ม ดอกไม้ เครื่องสาน และอาหารโบราณที่หาทานยาก รวมถึงอาหารร่วมสมัยต่างๆ ก็มี สามารถนั่งทานอาหารได้ตามจุดที่จัดไว้ หรือจะมาทานพร้อมชมการแสดง ณ ลานกิจกรรมก็ได้ ทานไปชมไปเพลิดเพลินเจริญใจยิ่งนัก เปิดเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30 – 16.00 น.

เดินเล่น เดินกินกันจนเหนื่อยก็ได้เวลาไปหาความรู้ใส่ตัวกันแล้ว ฝั่งตรงข้ามวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นที่ตั้งของ อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน ภายในอุทยานฯ ประกอบด้วย อนุสาวรีย์วีรชน ค่ายจำลองที่สร้างขึ้นใหม่ตามแบบโบราณ และอาคารศูนย์การศึกษาประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ภายในอาคารจัดแสดงงานได้อย่างน่าชม มีวิดีโอบอกเล่าถึงประวัติการต่อสู้ รูปปั้นวีรชน การสู้รบ รวมถึงบ้านเรือนการอยู่อาศัยของคนในสมัยก่อน พร้อมคำอธิบายที่อ่านเข้าใจง่าย

แม้ว่าค่ายบางระจันจะต้องพ่ายแพ้แก่พม่า แต่วีรกรรมครั้งนั้นได้รับการจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์และจิตใจของพี่น้องประชาชนชาวไทยถึงความกล้าหาญ สมัครสมานสามัคคี และความเสียสละ จึงได้มีการสร้างอนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจันทั้ง 11 ท่าน ได้แก่ นายจันทร์หนวดเขี้ยว ขุนสวรรค์ นายดอก นายทองเหม็น พันเรือง นายโชติ นายแท่น นายเมือง นายทองแก้ว นายอิน และนายทองแสงใหญ่ เพื่อให้เราได้กราบไหว้บูชาและถือเป็นแบบอย่างที่ดีของความรักชาติ

ภายในบริเวณจัดเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ และมุมแสดงบ้านเรือนความเป็นอยู่ของชาวบ้านบางระจัน มีบริการจักรยานให้ปั่นชมวิวโดยรอบได้ด้วย โดยอาคารศูนย์การศึกษาประวัติศาสตร์ฯ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทร.0 3652 0030

ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดสิงห์บุรี

สินค้าอัตลักษณ์ชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์